ประวัติวัด


 ประวัติวัดสิงห์
        จอมทองประวัติความเป็นมาของวัดสิงห์ไม่มีท่านผู้ใดรู้เป็นที่แน่นอนแต่เป็นวัดเก่า วัดหนึ่ง ได้เรียนถามหารือท่านผู้ใหญ่ที่มีอายุมากๆมาหลายท่าน ท่านผู้ใหญ่ทุกท่าน ไม่กล้า ออกความความเห็นที่แน่นอนได้ เป็นแต่ได้พูดเป็นแนวทางให้ความเห็นเป็น ส่วนตัวของท่านว่า วัดนี้บางสมัยก็พอจะดีขึ้นบ้าง บางสมัยก็ดู
ทรุดโทรม จนกระทั่งได้พบ หนังสือเรื่อง บางขุนเทียน ส่วนหนึ่งของแผ่นดินไทยและ กรุงรัตนโกสินทร์
ซึ่งคัดพิมพ์เป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ น.ท.สุขุม บุนปาน ร.น. มีข้อความเกี่ยวกับวัดสิงห์ที่ค้นคว้าโดยท่านผู้รู้พอที่จะนำมาเล่า สู่กันฟังได้ดังนี้ 
       วัดสิงห์มีหลักฐานที่สำคัญทั้งโบราณวัตถุและโบราณสถานที่น่าสนใจ หลายยุคหลาย สมัย โดยตัวโบสถ์หลังเก่าก่อผนังหนาทรงวิลันดาสมัยอยุธยา หน้าบรรณปั้นปูนรูปลายพะเนียงประดับถ้วย ตอนล่างหน้าบรรณปั้นลักษณะจำลอง เขามอ
       มีประตูเข้าออกด้านหน้า ๒ ช่องประตู ด้านหลังไม่มีประตูและหน้าต่าง คันทวยสลักด้วยไม้สวยงามมาก (ปัจจุบันกำลังบูรณปฏิสังขรณ์) สำหรับใบเสมา   นั้นเข้าใจว่าจะสร้างในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ คล้ายกับที่วัดพรหมนิวาสน์  (วัดขุนญวน)  ที่หัวแหลม  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีอักษรจารึกใช้คำว่ากวางตุ้ง ชื่อนายฮวด ผู้สร้าง ด้วย คิดว่าคงจะสั่งทำมาจากกวางตุ้งและได้ส่งอิทธิพลมายังสมัยรัชการที่ ๑      
    ในปัจจุบันทางวัดสร้างโบสถ์หลังใหม่และใช้เสมาเก่าเฉพาะที่ สมบูรณ์ดีเท่านั้น จากนี้จึงพบว่าที่โบสถ์เก่าใช้ลูกนิมิตเป็นก้อนหินธรรมชาติยังไม่ได้ สกัดเกลาให้กลมแต่อย่างใด ส่วนพระประธานในโบสถ์เก่า ทำด้วยก่ออิฐฉาบปูน ลงรักปิดทองและมีพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่ง ซึ่งสมัยก่อนอยู่ในวิหารเก่า ด้านหลังโบสถ์เก่า แล้วได้ย้ายมาไว้ที่หน้าโบสถ์เก่า  ปัจจุบันนี้   ได้อัญเชิญขึ้นไว้ในวิหารหลังใหม่   และได้มาทราบตอนหลังนี้ว่าพระพุทธรูปองค์นี้เป็นเนื้อหินทรายแดง  (ศิลาแลง) ลักษณะน่าจะเป็นพระสมัยสุโขทัย หรือสมัยอยุธยาตอนต้น   เป็นพระพุทธรูปปาง  อู่ทอง นั่งขัดสมาธิ   มีร่องรอยทารักสีดำมาก่อนจนชาวบ้านเรียกว่า       หลวงพ่อดำกันตลอดมา  เมื่อได้อัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนฐานสุกชีในวิหารแล้ว   ก็จะลงรักปิดทอง ช่างปิดทองได้ฉาบโป๊วแต่งองค์พระเพื่อให้องค์พระเรียบเนียนแล้วจึงจะลงรักปิดทองได้ เมื่อทำมาตามขั้นตอนแล้วปรากฏว่า ปูนและเคมีที่ฉาบโป๊วไว้นั้นยุ้ย เป็นขุยไม่ติด และจะเปลี่ยนมุขและนิลที่พระเนตรของหลวงพ่อ ก็ปรากฏว่าเนื้อพื้นผิวยุ่ยอีก ได้เคาะที่พระพักตร์ของหลวงพ่อ ปรากฏเสียงดังเหมือนเป็นโพรงข้างใน
ก็ได้ค่อยๆเคาะ สกัดออก   เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๗    เมื่อสกัดเนื้อปูนที่หุ้มอยู่ออกหนา ๒ เซ็นติเมตร  ก็ได้เห็นข้างในเป็นองค์พระที่ปิดทองไว้อีกชั้นหนึ่งค่อนข้างสมบูรณ์ และพระเนตรข้างในก็มีอีกชั้นหนึ่งยังคงสภาพที่ดี มาก ริมพระโอษฐ์ทาสีแดง เจ้าอาวาสก็เลยให้ช่างสกัดเนื้อปูนที่หุ้มอยู่นั้นออกให้
หมด แล้วฉาบโป๊วเนื้อผิว องค์พระใหม่จึงลงรักปิดทอง ได้ลักษณะของการที่คนสมัยนั้นได้ฉาบปูนทับองค์
พระที่ปิดทองไว้ คนหลายคนส่วนมากเข้าใจว่ากลัวพวกคนพม่าจะมาทำลายองค์พระเพื่อเอาทองไป
เมื่อครั้งที่พม่าเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา ส่วนเจดีย์เหลี่ยมหน้าโบสถ์เก่า นั้นน่าจะเป็นศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้น
นอกจากนี้ยังมีชิ้นส่วนพระพุทธรูปหิน ทรายแดงสมัยอยุธยาอยู่บริเวณโคนต้นโพธิ์และต้นมะขามหน้าวิหารหลวงพ่อดำอีกมาก ทั้งอิฐและเนื้อปูนที่ก่อฉาบตัวอาคารอุโบสถ์และวิหารเก่า ตามที่กล่าวมานี้จึงพอเป็นแนวให้สันนิษฐานได้ว่าวัดสิงห์นี้คงสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย ก็ไม่สามารถที่จะระบุชี้ชัดลงไปให้เป็นที่แน่นอนได้ และคาดว่าคงจะมีอายุไม่ต่ำกว่า ๓๐๐๔๐๐ ปีอย่างแน่นอนตามหลักฐานวัตถุต่างๆ
ที่ยังพอมีเหลือให้เห็นอยู่ จนถึงปัจจุนี้
การศึกษา ทางวัดเปิดสอนพระปริยัติธรรมแผนกนักธรรมเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๐ เป็นต้นมา ขณะนี้มีพระภิกษุ สามเณร เรียนนักธรรม ๒๐ รูป บาลี ๕ รูปสำหรับการศึกษาทางโลกก็มีโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ (มัธยมต้น ถึง มัธยมปลาย) ซึ่งทางวัดให้การสนับสนุนตั้งอยู่ในที่ธรณีสงฆ์ของวัดด้วย
            ปัจจุบันนี้ มีพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ คือ หลวงพ่อดำ อยู่ในวิหารจัตุรมุข วัดสิงห์ ก็เป็นเก่าแก่อีกวัดหนึ่งในย่านฝั่งธนบุรี  สันนิษฐานว่าเป็นวัด ที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลายมีหลักฐานที่สำคัญทั้งโบราณวัตถุและโบราณสถานที่น่าสนใจหลายยุคหลายสมัย โดยตัวโบสถ์หลังเก่าก่อผนังหนาทรงวิลันดา สมัยอยุธยา หน้าบรรณปั้นปูนรูปลายพะเนียงประดับถ้วยชามลายครามและเศษถ้วย ชามที่แตก ตอนล่างหน้าบรรณปั้นลักษณะจำลองเขามอ มีประตูเข้าออกด้านหน้า ๒ ช่องประตู ด้านหลังไม่มีประตู
(เรียกว่าโบสถ์มหาอุต) คันทวยสลักด้วยไม้ สวยงามมาก (ปัจจุบันกำลังบูรณปฏิสังขรณ์) สำหรับใบเสมานั้นเข้าใจว่าจะสร้าง ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ คล้ายกับที่วัดพรหมนิวาสน์ (วัดขุนญวน) ที่หัวแหลม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีอักษรจารึกใช้คำว่ากวางตุ้ง ชื่อนายฮวด ผู้สร้างด้วย คิดว่าคงจะสั่งทำมาจากกวางตุ้งและได้ส่งอิทธิพลมายังสมัยรัชการที่ ๑ ในปัจจุบันทางวัดสร้างโบสถ์หลังใหม่และใช้เสมาเก่าเฉพาะที่สมบูรณ์ดีเท่านั้น
จากนี้จึงพบว่า ที่โบสถ์เก่าใช้ลูกนิมิตเป็นก้อนหินธรรมชาติยังไม่ได้สกัดเกลาให้กลมแต่อย่างใด ส่วนพระประธานในโบสถ์เก่า ทำด้วยก่ออิฐฉาบปูน ลงรักปิดทอง และมีพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่ง ซึ่งสมัยก่อนอยู่ในวิหารเก่า ด้านหลังโบสถ์เก่า แล้วได้ย้ายมาไว้ที่หน้าโบสถ์เก่า ปัจจุบันนี้ ได้อัญเชิญขึ้นไว้ในวิหารหลังใหม่ และได้มาทราบตอนหลังนี้ว่าพระพุทธรูปองค์นี้เป็นเนื้อหินทรายแดง (ศิลาแลง) ลักษณะน่าจะเป็นพระสมัยสุโขทัย หรือสมัยอยุธยาตอนต้น เป็นพระพุทธรูป ปางอู่ทอง นั่งขัดสมาธิ เดิมองค์พระลงรักปิดทองไว้ และฉาบปูนทับหนา ๒ เซนติเมตร แล้วทารักสีดำมาก่อนจนชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อดำกันตลอดมา เมื่อได้อัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนฐานสุกชีในวิหารแล้ว ก็จะลงรักปิดทองใหม่ ส่วนเจดีย์เหลี่ยมหน้าโบสถ์เก่านั้นน่าจะเป็นศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้น
     
นอกจากนี้ยังมีชิ้นส่วนพระพุทธรูปหินทรายแดงสมัยอยุธยาอยู่บริเวณโคนต้นโพธิ์และต้นมะขามหน้าวิหารหลวงพ่อดำอีกมากทั้งอิฐและเนื้อปูนที่ก่อฉาบตัวอาคารอุโบสถ์ และวิหารเก่าตามที่กล่าวมานี้จึงพอเป็นแนวให้สันนิษฐานได้ว่า วัดสิงห์นี้คงสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย ก็ไม่สามารถที่จะระบุชี้ชัดลงไปให้เป็นที่แน่นอนได้ และคาดว่าคงจะมีอายุไม่ต่ำกว่า ๓๐๐๔๐๐ ปีอย่างแน่นอนตามหลักฐานวัตถุต่างๆ ที่ยังพอมีเหลือให้เห็นอยู่บ้าง ตอนนี้วัดสิงห์มีแต่อาคารก่อสร้างใหม่ ๆ ทั้งนั้น ด้วยการออกแบบของพระครูนวการวิมล เจ้าอาวาสวัดสิงห์รูปปัจจุบัน
 เจ้าอาวาส คงจะมีเจ้าอาวาสปกครองสืบต่อกันมาหลายต่อหลายท่าน แต่เนื่องจากในสมัยก่อนนั้นความเจริญยังมีน้อยจึงไม่มีการบันทึกการสร้างซ่อมแซม หรือประวัติเจ้าอาวาส ผู้ดูแลวัดไว้เป็นหลักฐาน เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ทราบกัน นอกจากที่สอบถามได้จากท่านผู้เฒ่าผู้แก่ที่พอจำประวัติและชื่อของเจ้าอาวาสองค์ ก่อนๆ ได้เพียงไม่กี่รูป ดังรายชื่อต่อไปนี้.
๑. พระอาจารย์ทัด
๒. พระอาจารย์จุ่น
๓. พระอาจารย์พัน
๔. พระอธิการจำปา
๕. พระอธิการสุดใจ ธมฺมธีโร เป็นเมื่อ -- --- ถึง พ.ศ. ๒๔๙๕
๖. พระครูอุดมสิกขกิจ เป็นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๖ ถึง พ.ศ. ๒๕๓๑
๗. พระครูวิบูลวัฒนวิธาน เป็นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๒ ถึง พ.ศ. ๒๕๔๕
๘. พระครูนวการวิมล เป็นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๖ ปัจจุบัน
ข้อมูลทัวไป

ชื่อ : วัดสิงห์
ที่อยู่ : 35 หมู่ 3 เอกชัย 43 แขวงบางขุนเทียน เขตจอมทอง กทม 10150
เบอร์โทร :  0-2893-6840 , 0-2893-6265 
การเดินทางไปวัดสิงห์ จอมทอง

รถประจำทางที่ผ่าน สาย 43 120 167 544

1 ความคิดเห็น: